วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ปรากฏการณ์ “ ผีเสื้อขยับปีก ”

ผีเสื้อขยับปีกหนึ่งครั้งมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยที่เกิดขึ้นกับธรรมชาติอาจนำไปสู่หายนะของโลกในอีกหลายหมื่นปีข้างหน้า

ราว 43 ปีที่แล้ว เอ็ดเวิร์ด นอร์ตัน ลอเรนซ์ นักคณิตศาสตร์ และนักอุตุนิยมวิทยาชาวสหรัฐ ผู้บุกเบิกทฤษฎีโกลาหล (Chaos Theory) ยุคแรกๆ ได้เขียนรายงานลงในวารสารวิทยาศาสตร์ว่า "นักอุตุนิยมคนหนึ่งถึงกับเอ่ยว่า ถ้าทฤษฎีนี้ถูกต้อง การขยับปีกของนกนางนวลหนึ่งครั้งอาจทำให้อากาศเปลี่ยนแปลงได้ตลอดกาล" งานเขียนในลำดับต่อมา ลอเรนซ์เปลี่ยนจากนกนางนวลมาเป็น ผีเสื้อขยับปีก ซึ่งฟังดูเพราะกว่า


“ผีเสื้อขยับปีก” เป็นวลีง่ายๆ ที่ใช้อ้างถึงทฤษฎีโกลาหล ซึ่งมีความละเอียดทางเทคนิคทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนและเข้าใจยากกว่ามากนัก โดยตัวทฤษฎีเองกล่าวถึง ตัวแปรเล็กน้อยที่เป็นเงื่อนไขแรกของระบบที่เชื่อมโยงกันเป็นทอดๆ อาจส่งผลต่อตัวแปรขนาดใหญ่ในพฤติกรรมระยะยาวของระบบได้ กล่าวอีกนัยหนึ่ง ผีเสื้อขยับปีกหนึ่งครั้งอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในบรรยากาศ ซึ่งสุดท้ายแล้วจะส่งผลให้เกิดพายุทอร์นาโด (หรือไม่เกิดหากผีเสื้อสูญพันธุ์) เท่ากับว่า การขยับของปีกผีเสื้อ แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยในเงื่อนไขของระบบนิเวศ แต่ส่งผลให้เกิดเหตุการณ์ต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ที่นำไปสู่ปรากฏการณ์ขนาดใหญ่

ไม่มีความคิดเห็น:


คลังบทความของบล็อก