วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2550

กฎแห่งความเงียบเชียบ 10ข้อ:สรสิทธิ์ฯ

01. ..........

02. .........

03. ........

04. .......

05. ......

06. .....

07. ....

08. ...

09. ..

10. .

Field Music - In Context



MV เพลงนี้เป็นวิดิโอประเภทที่ต้องตั้งใจดูตั้งแต่แรกจนจบ
มือที่เห้นในวิดิโอเป็นของตากล้อง ชื่อ Chris Fenner
ผู้เป็นเพื่อนกับผู้กำกับ Dan Lowe ตั้งแต่สมัยเรียนมหาลัย
Dan ออกแบบภาพที่เราเห็นในตอนจบด้วยภาพที่ได้จาก internet
และไอเดียที่เขาได้จากวงดนตรีเอง ดังนั้น หลังจากที่ซ้อมและซ้อมเล่าอีกทั้งวัน
Chris ก็ลงมือวาด และน่าจะวาดเสร็จในเทคเดียวถ้าปากกาไม่หมึกหมด
ไปเสียก่อน การวาดภาพใช้เวลา 27นาที และเมื่อถ่ายเสร็จ Chrisก็ถึงกับ
ตะคริวกินมือจนแทบขยับไม่ได้เลย

ผู้กำกับ:Dan Lowe
สตูดิโอ:Partizan,London
ตัดต่อ:Dan Lowe
โพสต์โปรดั่กชั่น:Dan Lowe
ค่ายเพลง:Memphis Industries,London

***อ้างอิงจาก:เอกสารประกอบงาน antenna uk04 แจกฟรีในงาน

ในทัศนะของ สรสิทธิ์ฯ

MV ตัวนี้ข้าพเจ้าเคยได้ไปดูที่งาน antenna uk04 เมื่อปีที่แล้ว
ในความคิดของข้าพเจ้าวิธีการที่เห็นใน mv ตัวนี้ ก็นับได้ว่าเป็นวิธีการด้นสด
เพราะได้มีการตระเตรียมซ้อมมาล่วงหน้า และได้มาแสดง(วาด)จริงต่อหน้าวิดิโอ
โดยที่ไม่ได้มีกาารตัดต่อ หรือ ใช้สริง ช่วยใดใด ...ฮามะ

***อ้างอิงจาก:สรสิทธิ์ฯ

ด้นสดกับการออกแบบ???:ทัศนะของ สรสิทธิ์ฯ

ณ เวลานี้ ข้าพเจ้ากลับมาคิดถึงแนวทางของตนเองแล้ว...ไงดีจ๊ะ จะนำมันมาทำงานออกแบยังไง?"ความสับสนกับมนุษย์"เป็นของคู่กัน(ไม่น่าเลย)ห-แ-ง แหละ!!!เพราะงานออกแบบ มี ปัจจัยที่ต่างจากการเล่นดนตรี อยู่แล้นน!!! แต่ก็ใช้ว่าจะไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กันได้ซะเมื่อไหร่ เพราะยุคสมัยหลังสมัยใหม่เราอ้างได้เสมอ HAHA กร้ากกกๆ!!!

ดนตรีมีเงื่อนไขของเวลา และ การแสดงสดเป็นสิ่งที่นักดนตรีสามารถถ่ายทอดไปถึงผู้ชมได้ โดยที่สามารถอิ่มเอมทางความรู้สึกกันไปได้ทั้ง2ฝ่าย

งานออกแบบมีเงื่อนไขของเวลาเหมือนกัน แต่จะเป็นไปในขั้นตอนของการขัดเกลา,ปรับปรุง,เพิ่มเติมฯกะตัวงาน ซึ่งขั้นตอนเหล่านั้นจะอยู่เบื้องหลังผลสำเร็จของตัวงาน และ สิ่งที่ได้ผ่านการขัดเกลาและออกมาสู่สายตาผู้ชมนั้น เป็นสิ่งที่จะเกิดกับตัวผู้ชมเองโดยที่นักออกแบบไม่สามรถที่จะมายืนอธิบายอะไรได้

นิยามใหม่ " Improvisation " ( ตอนที่ 8 )

จากการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ระหว่างเรากับผู้ชี้ทาง ทำให้เราทั้งคู่ต่างนับถือกันเป็นอาจารย์
เราได้แนวคิดใหม่ๆจากเขาเยอะมาก จนไม่อยากจะเชื่อเลยว่าเขาพึ่งจบปริญญา สิ่งนี้ทำให้เรานึก
เสียดายเวลาที่ผ่านมา แต่เวลาที่เหลืออยู่ก็สามารถทำให้มันมีค่าได้ ถ้าเรารู้จักหยุดพิจารณาสิ่งที่
ผ่านมาและพึ่งเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ

“ ความมั่ว บนความไม่มั่ว “ คำนิยามความหมายของคำว่า “ Improvisation “
นั้น ผู้ชี้ทางเป็นผู้บัญญัติขึ้น แรกๆเราก็ไม่เห็นด้วย คำว่า “ มั่ว “ มันแรงเกินไป เพราะคำว่า
“ มั่ว “ หมายถึง “ ความไม่รู้ “ แต่สิ่งที่เราเล่น เราว่าเรารู้ ว่าเรากำลังเล่นอะไร ?
แล้วจะบอกว่า “ มั่ว “ ได้อย่างไร ?

เขาตอบกลับมาว่า “ มั่ว คือ ความไม่รู้ “ เมื่อเล่นด้วยความไม่รู้ ก็แสดงว่า เรามิได้ใช้หลักการ
หรือทฤษฎีในการเล่น หลักการหรือทฤษฎีเกิดขึ้นหลังจากเราเล่นผ่านไปแล้ว ๆ ไปคิดย้อนหลังว่าสิ่ง
ที่เล่นผ่านไปนั้น มันคืออะไรบ้าง ? ซึ่งคำตอบที่ได้ก็ต้องใช้หลักการหรือทฤษฎีเข้าไปวิเคราะห์

การเล่น Improvise โดยที่คุณใช้หลักการหรือทฤษฎีเข้าไปร่วมขณะที่เล่นอยู่นั้น เช่น
รู้ว่าทางเดินคอร์ดเป็นอย่างไร ? สเกลที่จะนำมาเล่นใช้สเกลอะไรได้บ้าง ? จะใช้อาร์เปจิโออะไรดี ?เป็นต้น
วิธีการนี้เปรียบเสมือนการคิดก่อนเล่น หรือพูดง่ายๆก็คือ มีการวางแผนการเล่นไว้ล่วงหน้า ซึ่งเป็นที่นิยมมากๆ
และฟังดูดีด้วย ! แต่...คุณจะโดนตีกรอบความคิดโดยที่คุณไมรู้ตัว มันก็ไม่ต่างกับการที่คุณเป็นนักพูดที่ร่าง
หัวข้อเอาไว้ล่วงหน้า หรือเล่นตลกที่เตรียมมุขไว้แล้ว แรกๆอาจจะดูน่าสนใจ น่าฟัง หรือขำกลิ้งไปเลย ( มีความสุขทั้งผู้เล่นและผู้ชม )
แต่เมื่อผ่านไปหลายๆรอบ หลายๆ คืน ความซ้ำซากจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะกับตัวผู้เล่นเอง ความสุขที่เกิดขึ้นจากตัวผู้เล่น
และผู้ชมเองจะเท่ากับการเล่นครั้งแรกหรือไม่ ? ( ลองคิดดู ตรรกะง่ายๆ )

เปรียบดังเช่นเพลงแจ๊สทุกวันนี้ มาตรฐานนักดนตรียุคปัจจุบันฟันธงได้เลยว่าสูงกว่านักดนตรีสมัยก่อน ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ แต่ทำไม ?
ผลงานที่ออกมากลับมีความสร้างสรรค์น้อยกว่าสมัยก่อนมาก ! จนบางทีฟังดูแล้วมันคล้ายๆกันไปหมด เหมือนสูตรสำเร็จยังไงไม่รู้...
เรื่องนี้ก็พิสูจน์กันได้ง่ายๆนิดเดียว ลองถามตัวเองสิว่า ผลงานระดับมาสเตอร์พีสที่คุณอยากได้หรืออยากฟัง 10อันดับต้นๆ
เป็นศิลปินในยุคใดมากกว่ากัน ?

เหตุที่ป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า มันเป็นไปตามสมการแห่งความคิดสร้างสรรค์ คือ ทักษะจะแปรผันตรงกับความคิดสร้างสรรค์
แต่ความรู้ในหลักการหรือทฤษฎีจะแปรผกผันกับความคิดสร้างสรรค์ แปลเป็นภาษาชาวบ้านได้ว่า “ ทักษะสูงก็สร้างสรรค์อะไรได้เยอะ
ทักษะต่ำก็สร้างสรรค์อะไรได้น้อย รู้มากก็กลัว ไม่กล้าเล่น เมื่อไม่กล้าเล่น ต่อให้มีทักษะที่สูงก็ไม่ได้ใช้ เมื่อไม่ได้ใช้ทักษะที่สูง การสร้างสรรค์
งานก็ไม่เกิดขึ้น ในทางกลับกัน ไม่รู้ก็ไม่กลัว ไม่กลัวก็กล้าเล่น เมื่อกล้าเล่น การสร้างสรรค์ก็เกิดขึ้น จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับทักษะ “

เมื่อมาถึงจุดนี้ก็อย่าพึ่งเข้าใจผิดว่า “ ความรู้ในหลักการหรือทฤษฎีเป็นสิ่งไม่ดี หรือไม่จำเป็น หรือเป็นตัวอุปสรรคแห่งความคิดสร้างสรรค์ “
เหตุที่มันเป็นไปตามสมการแห่งความคิดสร้างสรรค์นั้นก็เพราะว่า “ กระบวนการเรียนรู้การศึกษาที่ผ่านมาที่เรานำมาใช้นั้น ไม่เหมาะสมกับ
การพัฒนาเรื่องความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นหัวใจแห่งงานศิลปะ “ เมื่อรู้เหตุแห่งปัญหาแล้ว ก็แก้ด้วยการเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสม
ในที่นี้ขอเสนอให้ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบจับต้น ชนปลาย ซึ่งสามารถศึกษาได้จากหมวดหมู่ ทฤษฎีใหม่แห่งการเรียนรู้ ( ไม่ขอกล่าวในที่นี้ )





***อ้างอิงจาก
http://www.oknation.net/blog/DRAGONFORCE/2007/11/08/entry-1

องค์ประกอบที่สำคัญของดนตรีแจ๊ส

ดนตรีแจ๊สมีองค์ประกอบสำคัญด้วยกัน 3 ประการ คือ

4.1 วิธีการเล่นด้นสดหรือคีตปฏิญาณ(Improvisation)***การเล่นด้นสดคือ การคิดท่วงทำนอง จังหวะ หรือการประสานเสียงในขณะบรรเลง ผู้บรรเลงมีความเป็นอิสระในการที่จะสร้างสรรค์ตัวโน้ต รายละเอียด และสีสันต่างๆ ของท่วงทำนอง และจังหวะขึ้นใหม่ในขณะที่บรรเลงเพลงหนึ่งๆในแต่ละครั้งซึ่งในแนวเพลงแบบอื่นไม่มี หรือถ้าจะมีก็เป็นเพียงแค่บางช่วงของเพลงเท่านั้น อย่างไรก็ตามแจ๊สมิได้เกิดขึ้นโดยการเล่นด้นสดทั้งหมด ส่วนใหญ่ดนตรีแจ๊สมักประกอบด้วยการบรรเลงจากการประพันธ์ประกอบกับการเล่นด้นสด ปกติการเล่นด้นสดเกิดขึ้นโดยผู้บรรเลงดนตรีแปรเปลี่ยนทำนองหลักไป ฉะนั้นรูปแบบของการบรรเลงจึงเป็นธีมและแวริเอชั่นเกิดขึ้นโดยผู้บรรเลงจะเสนอทำนองหลักก่อน จากนั้นเครื่องดนตรีเดี่ยวบางชิ้นจะแปรเปลี่ยนทำนองโดยการเล่นด้นสด บางครั้งการแปรเปลี่ยนทำนองอาจเป็นการบรรรเลงร่วมกันของเครื่องดนตรีเดี่ยว สองหรือสามชิ้น แต่ละตอนของการแปรเปลี่ยนและทำนองหลักมีชื่อเรียกเฉพาะว่าคอรัส(chorus) ดังนั้นเพลงนั้นอาจจะมี 4-6คอรัส เป็นต้น โดยตอนแรกเป็นการเสนอทำนองหลัก

4.2 ลักษณะเฉพาะทางด้านจังหวะ (ที่เรียกว่าสวิง)จังหวะสวิง (swings) เกิดจากการบรรเลงจังหวะตบผนวกกับความรู้สึกเบา หรือลอยความมีพลังผ่อนคลายในที และการรักษาจังหวะให้สม่ำเสมอ โดยปกติเครื่องตี เช่น กลอง แฉ และเบส จะบรรเลงจังหวะตบ อัตราจังหวะของเพลงแจ๊สมักจะเป็นกลุ่ม 4 จังหวะ คือ 4/4 แต่จังหวะเน้นแทนที่จะลงที่บีท 1 และ 3 เหมือนในบทเพลงทั่ว ๆ ไป แต่แจ๊สกลับนิยมลงที่บีท 2 และ 4 ส่วนจังหวะขัดจะลงหนักระหว่างจังหวะตบทั้งสี่ นอกจากนี้การบรรเลงจริง ๆ มักจะยึดค่าตัวโน้ต ไม่ได้ลงจังหวะตามที่เขียนเป็นโน้ตเสียทีเดียว กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การบันทึกดนตรีแจ๊สเป็นโน้ตเพลงที่จะให้ถูกต้องจริง ๆ เป็นสิ่งที่กระทำได้ค่อนข้างยาก ด้วยจังหวะการบรรเลงดังกล่าวนี้ ทำให้ผู้ที่ฟังดนตรีมีความรู้สึกอยากเคลื่อนไหวยักย้ายไปตามจังหวะดนตรี ทำนองก็เช่นเดียวกับจังหวะ มักมีการร้องเพี้ยนไปจากเสียงที่ควรจะเป็นไปตามบันไดเสียงเมเจอร์หรือไมเนอร์ที่แจ๊สใช้อยู่เสียงเพี้ยนมักจะต่ำกว่าเสียงที่ควรจะเป็น ตามปกติมักเกิดขึ้นในเสียงตำแหน่งที่ 3,5และ7ของบันไดเสียงลักษณะเช่นนี้เรียกว่า เบนท์หรือบลูส์โน้ต (blues note) สำหรับเรื่องเสียงประสานแม้จะใช้หลักการตามแบบของดนตรีคลาสสิก แต่ได้มีการพัฒนาในเรื่องของการสร้างคอร์ด ( Chord ) แปลก ๆ ขึ้น การจัดเรียงของคอร์ดตามแนวทางของดนตรีแจ๊ส ทำให้การประมานเสียงของดนตรีแจ๊สมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งนี้อาจจะเป็นไปได้ที่ว่า...ดนตรีแจ๊สมีพื้นฐานในแบบของดนตรีบูลส์ (Blues Music) เพราะในดนตรีบูลส์ก็มีการเล่นที่เป็นแบบโน้ตคล้าย ๆ สวิงนี้เหมือนกัน แต่ในบูลส์เรานิยมเรียกการเล่นจังหวะของโน้ตแบบนี้ว่า Shuftle Feel

4.3 ลักษณะความเป็นปัจเจกภาพของนักดนตรีขนบธรรมเนียมของแจ๊ส (Jazz Tradition) เปิดโอกาสให้นักดนตรีสามารถแสดงความเป็นตัวของตัวเองให้ปรากฏได้อย่างชัดแจ้ง ไม่ว่าจะเป็นลีลาอันนุ่มนวล,แข็งกระด้าง,การทอดเสียง,การสั่นไหว,การแปรทำนอง และเทคนิคต่าง ๆ โดยในขณะเดียวกัน ผู้ฟังที่มีประสบการณ์สามารถจะตระหนักรู้ได้โดยง่ายว่า เสียงที่ได้ยินนั้นเป็นการบรรเลงของนักดนตรีคนใด

***อ้างอิงจาก http://se-ed.net/kitatann/article/file/jazz04.html

วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2550

คำคมวันนี้ 7 ธ.ค. 50

"ใบมีดโกน"

David Carson


david carson ถุงเท้าที่ทุกๆคน ใส่กัน