วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2550

นิยามใหม่ " Improvisation " ( ตอนที่ 8 )

จากการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ระหว่างเรากับผู้ชี้ทาง ทำให้เราทั้งคู่ต่างนับถือกันเป็นอาจารย์
เราได้แนวคิดใหม่ๆจากเขาเยอะมาก จนไม่อยากจะเชื่อเลยว่าเขาพึ่งจบปริญญา สิ่งนี้ทำให้เรานึก
เสียดายเวลาที่ผ่านมา แต่เวลาที่เหลืออยู่ก็สามารถทำให้มันมีค่าได้ ถ้าเรารู้จักหยุดพิจารณาสิ่งที่
ผ่านมาและพึ่งเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ

“ ความมั่ว บนความไม่มั่ว “ คำนิยามความหมายของคำว่า “ Improvisation “
นั้น ผู้ชี้ทางเป็นผู้บัญญัติขึ้น แรกๆเราก็ไม่เห็นด้วย คำว่า “ มั่ว “ มันแรงเกินไป เพราะคำว่า
“ มั่ว “ หมายถึง “ ความไม่รู้ “ แต่สิ่งที่เราเล่น เราว่าเรารู้ ว่าเรากำลังเล่นอะไร ?
แล้วจะบอกว่า “ มั่ว “ ได้อย่างไร ?

เขาตอบกลับมาว่า “ มั่ว คือ ความไม่รู้ “ เมื่อเล่นด้วยความไม่รู้ ก็แสดงว่า เรามิได้ใช้หลักการ
หรือทฤษฎีในการเล่น หลักการหรือทฤษฎีเกิดขึ้นหลังจากเราเล่นผ่านไปแล้ว ๆ ไปคิดย้อนหลังว่าสิ่ง
ที่เล่นผ่านไปนั้น มันคืออะไรบ้าง ? ซึ่งคำตอบที่ได้ก็ต้องใช้หลักการหรือทฤษฎีเข้าไปวิเคราะห์

การเล่น Improvise โดยที่คุณใช้หลักการหรือทฤษฎีเข้าไปร่วมขณะที่เล่นอยู่นั้น เช่น
รู้ว่าทางเดินคอร์ดเป็นอย่างไร ? สเกลที่จะนำมาเล่นใช้สเกลอะไรได้บ้าง ? จะใช้อาร์เปจิโออะไรดี ?เป็นต้น
วิธีการนี้เปรียบเสมือนการคิดก่อนเล่น หรือพูดง่ายๆก็คือ มีการวางแผนการเล่นไว้ล่วงหน้า ซึ่งเป็นที่นิยมมากๆ
และฟังดูดีด้วย ! แต่...คุณจะโดนตีกรอบความคิดโดยที่คุณไมรู้ตัว มันก็ไม่ต่างกับการที่คุณเป็นนักพูดที่ร่าง
หัวข้อเอาไว้ล่วงหน้า หรือเล่นตลกที่เตรียมมุขไว้แล้ว แรกๆอาจจะดูน่าสนใจ น่าฟัง หรือขำกลิ้งไปเลย ( มีความสุขทั้งผู้เล่นและผู้ชม )
แต่เมื่อผ่านไปหลายๆรอบ หลายๆ คืน ความซ้ำซากจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะกับตัวผู้เล่นเอง ความสุขที่เกิดขึ้นจากตัวผู้เล่น
และผู้ชมเองจะเท่ากับการเล่นครั้งแรกหรือไม่ ? ( ลองคิดดู ตรรกะง่ายๆ )

เปรียบดังเช่นเพลงแจ๊สทุกวันนี้ มาตรฐานนักดนตรียุคปัจจุบันฟันธงได้เลยว่าสูงกว่านักดนตรีสมัยก่อน ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ แต่ทำไม ?
ผลงานที่ออกมากลับมีความสร้างสรรค์น้อยกว่าสมัยก่อนมาก ! จนบางทีฟังดูแล้วมันคล้ายๆกันไปหมด เหมือนสูตรสำเร็จยังไงไม่รู้...
เรื่องนี้ก็พิสูจน์กันได้ง่ายๆนิดเดียว ลองถามตัวเองสิว่า ผลงานระดับมาสเตอร์พีสที่คุณอยากได้หรืออยากฟัง 10อันดับต้นๆ
เป็นศิลปินในยุคใดมากกว่ากัน ?

เหตุที่ป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า มันเป็นไปตามสมการแห่งความคิดสร้างสรรค์ คือ ทักษะจะแปรผันตรงกับความคิดสร้างสรรค์
แต่ความรู้ในหลักการหรือทฤษฎีจะแปรผกผันกับความคิดสร้างสรรค์ แปลเป็นภาษาชาวบ้านได้ว่า “ ทักษะสูงก็สร้างสรรค์อะไรได้เยอะ
ทักษะต่ำก็สร้างสรรค์อะไรได้น้อย รู้มากก็กลัว ไม่กล้าเล่น เมื่อไม่กล้าเล่น ต่อให้มีทักษะที่สูงก็ไม่ได้ใช้ เมื่อไม่ได้ใช้ทักษะที่สูง การสร้างสรรค์
งานก็ไม่เกิดขึ้น ในทางกลับกัน ไม่รู้ก็ไม่กลัว ไม่กลัวก็กล้าเล่น เมื่อกล้าเล่น การสร้างสรรค์ก็เกิดขึ้น จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับทักษะ “

เมื่อมาถึงจุดนี้ก็อย่าพึ่งเข้าใจผิดว่า “ ความรู้ในหลักการหรือทฤษฎีเป็นสิ่งไม่ดี หรือไม่จำเป็น หรือเป็นตัวอุปสรรคแห่งความคิดสร้างสรรค์ “
เหตุที่มันเป็นไปตามสมการแห่งความคิดสร้างสรรค์นั้นก็เพราะว่า “ กระบวนการเรียนรู้การศึกษาที่ผ่านมาที่เรานำมาใช้นั้น ไม่เหมาะสมกับ
การพัฒนาเรื่องความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นหัวใจแห่งงานศิลปะ “ เมื่อรู้เหตุแห่งปัญหาแล้ว ก็แก้ด้วยการเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสม
ในที่นี้ขอเสนอให้ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบจับต้น ชนปลาย ซึ่งสามารถศึกษาได้จากหมวดหมู่ ทฤษฎีใหม่แห่งการเรียนรู้ ( ไม่ขอกล่าวในที่นี้ )





***อ้างอิงจาก
http://www.oknation.net/blog/DRAGONFORCE/2007/11/08/entry-1

ไม่มีความคิดเห็น: